พรมมิ สมุนไพรเพื่อสุขภาพสมอง2-ทำความรู้จักพรมมิ

brahmiพรมมิ เป็นผักพื้นบ้านที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทยชอบขึ้นตามพื้นดินที่ชุ่มชื้นหรือมีน้ำขัง พืชชนิดนี้มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ผักมิ ผักหมี่ นมมิ พรมลี เป็นต้น ในภาษาฮินดูเรียกว่า Brahmi มีชื่อสามัญว่า Thyme-leaf Gratiola และชื่ออังกฤษว่า Dwarf bacopa พรมมิจัดอยู่ในวงศ์ Scrophulariaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bacopa monnieri Wettst. และชื่อพ้องว่า Bacopa monniera (L.) Pennell yes,Lysimachia monnieri L. Cent., Graticola monnieri L., Monnieracunefolia Michaux Herpestis monnieri L. Kunth๑ – ๔

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพรมมิ

พรมมิ เป็นพืชที่มีขนาดเล็ก ชอบขึ้นตามพื้นดินที่ชื้นแฉะ ชุ่มน้ำจนถึงน้ำขัง จึงเป็นพืชที่มีคุณสมบัติสะเทินน้ำสะเทินบก ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ ผิวลาต้นเรียบ ไม่มีขน ลำต้นเลื้อยทอดไปตามพื้น และชูปลายยอดขึ้น ถ้าอยู่ในน้ำปลายยอดจะชูเหนือผิวน้ำ รากอาจแตกตามข้อของลำต้นที่ทอดไปตามหน้าดิน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามเป็นคู่ไม่มีก้านใบ ตัวใบเป็นรูปไข่กลับ มีความกว้างประมาณ ๕ มิลลิเมตร และความยาวประมาณ ๑๕ มิลลิเมตร โคนใบแคบ ปลายใบกว้างมนกลม ขอบใบเรียบ ดอกเป็น ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงสีเขียว มีจำนวน ๕ กลีบ กลีบดอกมีตั้งแต่สีขาว ครามอ่อน ไปจนถึงม่วงอ่อน กลีบดอกยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายกลีบดอกแยกจากกันเป็น ๕ แฉก เกสรตัวผู้มี ๔ อัน ติดอยู่บนกลีบดอก รังไข่มี ๒ ช่อง ภายในมีไข่อ่อนจำนวนมาก ผลแห้งจะแตกออก พืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเนปาลและอินเดีย๑ – ๔
สรรพคุณ

พรมมิกับการแพทย์แผนไทย (Thai traditional medicine)

กล่าวไว้ว่า ทั้งต้นมีรสเย็นหวาน มีสรรพคุณบำรุงประสาทแก้ลมบ้าหมู แก้ปวดประสาท ดับพิษไข้ฝีดาษ แก้ไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ ขับพยาธิ ขับเสมหะ แก้หืด และบำรุงหัวใจ

พรมมิกับการแพทย์อายุรเวท (Ayurvedic medicine)

กล่าวไว้ว่า พืชชนิดนี้มีรสขมหวาน ใช้เป็นยาเย็น มีฤทธิ์ทำให้สงบ (calms) ลดอาการผิดปรกติทางสมอง (reduces mentalillness) เสริมสร้างการทำงานของสมอง (increases intellectualpower) บำรุงหัวใจ (heart tonic) เสริมสร้างระบบประสาท(rejuvenative, particularly to the nervous system) เป็นยาอายุวัฒนะ (increases longevity) เสริมสร้างจิตใจให้เข้มแข็ง (gives strength, specially to the mind) ช่วยในการเผาผลาญอาหาร (promotes energy) ช่วยในการนอนหลับ (promotessleep) ช่วยรักษาผิวพรรณ (alleviates skin conditions)

ที่มา ธรรมศาสตร์เวชสาร ปีที่ ๑๓ ฉบับที่ ๔ ประจำาเดือนตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๕๖ อ่านฉบับเต็ม คลิกที่นี่